Share

ไม่อยากเป็นไข้หวัดใหญ่กินอะไรดี

Last updated: 19 Mar 2025
192 Views

ไม่อยากเป็นไข้หวัดใหญ่กินอะไรดี

1.วิตามินดี
       วิตามินดี มีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน มีการศึกษาพบว่าคนที่ขาดวิตามินดี มีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อมากกว่าคนที่มีระดับวิตามินดีเพียงพอ
มีการศึกษาทางคลินิกพบว่า การรับประทานวิตามินดี ปริมาณ 400-1000 ไอยูต่อวัน เป็นเวลานาน 12 เดือน ลดอุบัติการณ์การติดเชื้อทางเดินหายใจฉับพลัน รวมถึงเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธ์เอ นอกจากนี้ยังพบอัตราการกำเริบของโรคหอบหืดลดลงด้วย

อาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ตับ ไข่แดง เป็นต้น


2. ซิงค์หรือแร่สังกะสี
       ซิงค์มีบทบาทสำคัญในการรักษาความแข็งแรงของเยื่อบุทางเดินหายใจ การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดการเกิดการอักเสบภายหลังการติดเชื้อ ยังยั้งการแบ่งตัวของไวรัส
มีการศึกษาพบว่าการขาดซิงค์ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่เอ โดยคนที่มีระดับซิงค์ในเลือดมากกว่า 70 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบจากเชื้อไข้หวัดใหญ่น้อยกว่าคนที่มีระดับซิงค์ในเลือดน้อยกว่า 70 ไมโรคกรัมต่อเดซิลิตร

อาหารที่มีซิงค์สูง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู หอยนางรม เมล็ดฟักทอง เป็นต้น


3.วิตามินซี
       จากการศึกษาทางคลินิกพบว่า วิตามินซีลดอุบัติการเกิดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ และสามารถลดระยะเวลาของอาการติดเชื้อทางเดินหายใจได้

อาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น พริกหวาน บร็อคโคลี่ มะละกอ ฝรั่ง กีวี เป็นต้น

       เนื่องจากการเดินทาง การเปิดภาคเรียน ภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้อุบัติการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มมากขึ้น แนะนำให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายและระบบภูมิกันแข็งแรงต่อสู้กับเชื้อโรค รับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี ซี ซิงค์ ปกป้องตนเองด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ใส่หน้ากากอนามัยขณะอยู่ในแหล่งชุมชน กันนะคะ

 


WeNature
Your Daily Dose of Vitality
วันดี ๆ มีได้ทุกวันด้วยวีเนเจอร์

 


เอกสารอ้างอิง
1. Mitsuyoshi Urashima, Takaaki Segawa, Minoru Okazaki, Mana Kurihara, Yasuyuki Wada, and Hiroyuki Ida. Randomized Trial of Vitamin D Supplementation to Prevent Seasonal Influenza A in Schoolchildren. Am J Clin Nutr 2010(91):125560. 

2. Mitsuyoshi Urashima, Hidetoshi Mezawa, Miki Noyaa and Carlos A. Camargo. Effects of Vitamin D Supplements on Influenza A Illness during The 2009 H1N1 Pandemic: A Randomized Controlled Trial. Food Funct 2014(5): 2365.

3. Harold H. Sandstead and Ananda S. Prasad. Zinc Intake and Resistant to H1N1 Influenza. American Journal of Public Health 2010,100(6): 970-971.

4. Fatemeh Sadeghsoltani, Iraj Mohammadzadeh, MirMeghdad Safari, Parisa Hassanpour, Melika Izadpanah, Durdi Qujeq, Soheila Moein and Mostafa VaghariTabari. Zinc and Respiratory Viral Infections: Important Trace Element in Antiviral Response and Immune Regulation. Biological Trace Element Research 2022(200): 25562571.

5. David A Jolliffe, Carlos A Camargo Jr, John D Sluyter, Mary Aglipay, John F Aloia, Davaasambuu Ganmaa, Peter Bergman, Heike A Bischoff-Ferrari, et. al. Vitamin D Supplementation to Prevent Acute Respiratory Infections: A Systematic Review and Meta-Analysis of Aggregate Data from Randomised Controlled Trials.  Lancet Diabetes Endocrinol 2021(9): 27692.


6. Abioye AI, Bromage S and Fawzi W. Effect of Micronutrient Supplements on Influenza and Other Respiratory Tract Infections Among Adults: A Systematic Review and Meta analysis. BMJ Global Health 2021(6): 3176.


Related Content
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว and นโยบายคุกกี้
Compare product
0/4
Remove all
Compare
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy