Share

ป้องกันป่วย เพิ่มภูมิคุ้มกัน ด้วยโพรไบโอติกส์(Probiotics)

Last updated: 6 Nov 2024
183 Views

หลายคนคงรู้จัก โพรไบโอติกส์ (probiotics) ในบทบาทของจุลินทรีย์ชนิดดีที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารส่วนกระเพาะและลำไส้ของมนุษย์ มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร รักษาสมดุลในลำไส้ และป้องกันอาการผิดปกติต่าง ๆ ของลำไส้ แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้น โพรไบโอติกส์ยังมีประโยชน์ในระบบอื่น ๆ เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน โดยระบบภูมิคุ้มกันบริเวณลำไส้จะเชื่อมโยงกับระบบภูมิคุ้มกันของอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด เป็นต้น

ทำไมต้องรับประทานโพรไบโอติกส์เสริม

ถึงแม้ว่าโพรไบโอติกส์หรือจุลินทรีย์ชนิดดีจะมีอยู่ในลำไส้ของมนุษย์อยู่แล้ว แต่มีปัจจัยมากมายที่ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ทำให้จุลินทรีย์ชนิดดีลดลง ได้แก่

  • การรับประทานอาหารประเภทน้ำตาลและโปรตีนมากเกินไป
  • การรับประทานยาปฏิชีวนะ
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • ความเครียด ความวิตกกังวล
  • การมีสุขภาพในช่องปากที่ไม่ดี

ดังนั้น ควรปรับพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเหล่านี้ ร่วมกับการรับประทานโพรไบโอติกส์เสริมเพื่อปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ อย่างไรก็ตามการรับประทานโพรไบโอติกส์มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรรับประทานโพรไบโอติกส์ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน


 

โพรไบโอติกส์กับโควิด

โพรไบโอติกส์ ป้องกันโรคโควิดได้อย่างไร
โพรไบโอติกส์ที่รับประทานเข้าไปจะไปจับกับเยื่อบุลำไส้ และป้องกันการติดเชื้อโควิดผ่านทางกลไกดังต่อไปนี้

-  สร้างสารต่าง ๆ ที่ช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบริเวณลำไส้ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบภูมิคุ้มกันบริเวณทางเดินหายใจโดยตรง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

- สร้างสารไปแย่งจับกับ angiotensin converting enzyme 2 (ACE 2) receptor ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับที่เชื้อโควิดไปจับเพื่อเข้าสู่เซลล์เยื่อบุ ทำให้เชื้อโควิดไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ได้

โพรไบโอติกส์สายพันธุ์ใดบ้างที่ช่วยป้องกันโรคโควิด
ผลการศึกษาโดยส่วนใหญ่พบว่าโพรไบโอติกส์ช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด และสามารถลดระยะเวลาของโรค ลดความรุนแรงของอาการอ่อนเพลีย หอบเหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน และจมูกไม่ได้กลิ่นได้ โดยสายพันธุ์ของโพรไบโอติกที่ใช้ในการศึกษาคือ Bifidobacterium longum, Bifidobacterium animalis subsp. Lactis, Bifidobacterium bifidum, Lactobacillus rhamnosus, Lactobacillus acidophilus, และ Lactobacillus plantarum

โพรไบโอติกส์กับไข้หวัด

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้โพรไบโอติกส์มีจำนวนลดลง คือ ความเครียด และความวิตกกังวล ส่งผลให้ร่างกายมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจากรายงานพบว่าอัตราการติดเชื้อไข้หวัดจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่ร่างกายเหนื่อยล้า เครียด และพักผ่อนไม่เพียงพอ

โดยจากการศึกษาทางคลินิกในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยในรัฐฟลอริดาจำนวน 581 คน พบว่ากลุ่มที่รับประทานโพรไบโอติกส์ Bifidobacterium bifidum เสริมเป็นเวลา 6 สัปดาห์ มีจำนวนวันที่มีอาการไข้หวัด และจำนวนวันที่รายงานอาการป่วยไข้หวัดน้อยกว่ากลุ่มที่รับประทานยาหลอก

จากบทความจะเห็นว่า แม้ว่าโพรไบโอติกส์ที่นำมาใช้ในการศึกษาจะมีหลายชนิดและหลายกลุ่ม แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดที่มีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน Bifidobacterium bifidum เป็นหนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในด้านของการส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เนื่องจาก Bifidobacterium bifidum เป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่พบมากในลำไส้ของทารกที่ดื่มนมแม่ มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน และการดูดซึมสารอาหาร ซึ่งปริมาณของจุลินทรีย์กลุ่ม Bifidobacterium ในลำไส้จะลดลงตามอายุ ส่งผลให้เรามีระบบภูมิคุ้มกันที่แย่ลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

ดังนั้น หากคุณมีพฤติกรรมที่ส่งผลให้โพรไบโอติกส์ในร่างกายลดลง ร่วมกับมีประวัติการติดเชื้อโควิด หรือไข้หวัดอยู่บ่อย ๆ การรับประทานโพรไบโอติกส์เสริมอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณ ที่สำคัญอย่าลืมออกกำลังกาย รวมถึงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและระบบภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น

 

ด้วยความห่วงใยจากใจ

WeNature
Wellness Starts with Nature

 

เอกสารอ้างอิง

1.Walton GE, Gibson GR, Hunter KA. Mechanisms linking the human gut microbiome to prophylactic and treatment strategies for COVID-19. Br J Nutr. 2021 Jul 28;126(2):219-227. doi: 10.1017/S0007114520003980. Epub 2020 Oct 9. PMID: 33032673; PMCID: PMC7684010.

2.Stavropoulou E, Bezirtzoglou E. Probiotics in Medicine: A Long Debate. Front Immunol. 2020 Sep 25;11:2192. doi: 10.3389/fimmu.2020.02192.

3.Patra S, Saxena S, Sahu N, Pradhan B, Roychowdhury A. Systematic Network and Meta-analysis on the Antiviral Mechanisms of Probiotics: A Preventive and Treatment Strategy to Mitigate SARS-CoV-2 Infection. Probiotics Antimicrob Proteins. 2021 Aug;13(4):1138-1156. doi: 10.1007/s12602-021-09748-w. Epub 2021 Feb 3.

4.Bottari B, Castellone V, Neviani E. Probiotics and Covid-19. Int J Food Sci Nutr. 2021 May;72(3):293-299. doi: 10.1080/09637486.2020.1807475. Epub 2020 Aug 12.

5.Xavier-Santos D, Padilha M, Fabiano GA, Vinderola G, Gomes Cruz A, Sivieri K, et al. Evidences and perspectives of the use of probiotics, prebiotics, synbiotics, and postbiotics as adjuvants for prevention and treatment of COVID-19: A bibliometric analysis and systematic review. Trends Food Sci Technol. 2022 Feb;120:174-192. doi: 10.1016/j.tifs.2021.12.033. Epub 2022 Jan 2. Erratum in: Trends Food Sci Technol. 2022 Mar;121:156-160.

6.Claudio Hidalgo-Cantabrana, Susana Deldago, Lorena Ruiz, Patricia Ruas-Madiedo, Borja Sanchez and Abelardo Margolles. Bifidobacteria and Their Health-Promoting Effects. Microbiology Spectrum 2017.

7.Francesca Turroni, Sabrina Duranti, Christian Milani, Gabriele Lugli, Douwe van Sinderen and Macro Ventura. Bifidobacterium bifidum: A Key Member of the Early Human Gut Microbiota. Microorganism 2019(70: 544.

8.Langkamp-Henken B, Rowe CC, Ford AL, Christman MC, Nieves C Jr, Khouri L, et al. Bifidobacterium bifidum R0071 results in a greater proportion of healthy days and a lower percentage of academically stressed students reporting a day of cold/flu: a randomised, double-blind, placebo-controlled study. Br J Nutr. 2015 Feb 14;113(3):426-34.

 


Related Content
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว and นโยบายคุกกี้
Compare product
0/4
Remove all
Compare
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy