สารสกัดจากเมล็ดองุ่น ตัวช่วยเรื่องฝ้า กระ จุดด่างดำ
ปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ เป็นปัญหาสำคัญของผู้หญิงวัย 30 ถึง 40 ปี สาเหตุการเกิดฝ้ามาจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน เครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังมีรังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) ที่เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญของการเกิดฝ้า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการผลิตเม็ดสีที่เพิ่มขึ้นของเซลล์ผิวหนัง และมีผลต่อการกระตุ้นการสร้างสารอนุมูลอิสระที่มีผลต่อการเพิ่มเม็ดสีของผิวหนังเช่นกัน บทความนี้จะแนะนำให้คุณรู้จักกับ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape seed extract) ที่เป็นหนึ่งในตัวเลือกสำหรับการดูแลผิว
โปรแอนโธไซยานิดินส์ สารสกัดสำคัญจากเมล็ดองุ่น
จากการศึกษาพบว่าโปรแอนโธไซยานิดินส์ (proanthocyanidin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในเมล็ดองุ่นสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดสีในผิวหนัง เพิ่มการไหลเวียนโลหิตในชั้นผิวหนังส่งผลให้เกิดการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิวหนัง ลดการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนัง และลดขนาดของฝ้าหลังจากโดนรังสีอัลตราไวโอเลตได้ โดยพบว่าร้อยละ 41 ของผู้บริโภคมีรอยฝ้าจางลง หลังรับประทาน grape seed extract นาน 3 เดือน และเพิ่มเป็นร้อยละ 83 หลังรับประทานนาน 6 เดือน นอกจากนี้ยังยังเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนังด้วย
นอกจากประโยชน์ต่อผิวแล้ว สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape seed extract) ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือดและช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต รวมถึงช่วยลดการอักเสบ นอกจากนี้การดื่มน้ำ นอนหลับให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ไขมัน น้ำตาล งดการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงควรออกกำลังกายอย่างเป็นประจำควบคู่ไปด้วย
WeNature
Your Daily Dose of Vitality
วันดี ๆ มีได้ทุกวันด้วยวีเนเจอร์
เอกสารอ้างอิง
1. Jun Yamakoshi, Atsushi Sano et al. Oral Intake of Proanthocyanidin-Rich Extract from Grape Seeds Improves Chloasma. Phytother. Res 2004; 18: 895-899.
2. T. Tsuchiya, Y. Fukui et al. Effects of Oligomeric Proanthocyanidins (OPCs) of Red Wine to Improve Skin Whitening and Moisturizing in Healthy Women-A Placebo-Controlled Randomized Double-Blind Parallel Group Comparative Study. European Review for Medical and Pharmacological Sciences 2020; 24: 1571-1584.