ขาดซิงค์(Zinc) ร่างกายอ่อนแอ
อัพเดทล่าสุด: 6 พ.ย. 2024
139 ผู้เข้าชม
ซิงค์ (Zinc) หรือแร่สังกะสี เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีปริมาณมากในร่างกายเป็นอันดับสอง รองจากธาตุเหล็ก เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีน และเอนไซม์หลายชนิด รวมถึงโปรตีนที่เกี่ยวข้องการถอดรหัสพันธุกรรมของเซลล์
ในประเทศไทยพบภาวะพร่องสังกะสีร้อยละ 10 ของประชากรไทย ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติ มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิวหนัง และมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอซึ่งอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อในร่างกาย เช่น ไข้หวัด ที่พบว่าเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเข้าพบแพทย์ได้ โดยทั่วไปผู้ใหญ่พบอุบัติการณ์ไข้หวัด 2 ถึง 4 ครั้งต่อปี และ 8 ถึง 10 ครั้งต่อปีในเด็ก ไข้หวัดเกิดได้จากไวรัสหลายชนิด เช่น ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) โควิด-19 (COVID-19) อะดีโนไวรัส (Adenovirus) เป็นต้น การรับประทานแร่สังกะสีเสริมจึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันการติดเชื้อไข้หวัด
4 บทบาทของแร่สังกะสีต่อร่างกาย
ในประเทศไทยพบภาวะพร่องสังกะสีร้อยละ 10 ของประชากรไทย ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติ มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิวหนัง และมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอซึ่งอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อในร่างกาย เช่น ไข้หวัด ที่พบว่าเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเข้าพบแพทย์ได้ โดยทั่วไปผู้ใหญ่พบอุบัติการณ์ไข้หวัด 2 ถึง 4 ครั้งต่อปี และ 8 ถึง 10 ครั้งต่อปีในเด็ก ไข้หวัดเกิดได้จากไวรัสหลายชนิด เช่น ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) โควิด-19 (COVID-19) อะดีโนไวรัส (Adenovirus) เป็นต้น การรับประทานแร่สังกะสีเสริมจึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันการติดเชื้อไข้หวัด
4 บทบาทของแร่สังกะสีต่อร่างกาย
1. การสร้างและการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน
แร่สังกะสีมีบทบาทสำคัญในการสร้างและการเจริญเติบโตของเซลล์ภูมิคุ้มกันต่าง ๆ เช่น เม็ดเลือดขาวชนิด T-cells และ B-cells รวมถึงช่วยให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจัดการกับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่า แร่สังกะสีสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้อีกด้วย
2. การทำงานของเอนไซม์และโปรตีน
แร่สังกะสีเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และโปรตีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ DNA และ RNA
3. การป้องกันการอักเสบ
แร่สังกะสีมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบและช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายจากการติดเชื้อหรือการบาดเจ็บ
4. การป้องกันและรักษาการติดเชื้อ
มีการศึกษาพบว่า การเสริมแร่สังกะสีสามารถลดระยะเวลาและความรุนแรงของการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนและโรคไข้หวัด
แหล่งอาหารที่มีแร่สังกะสีสูง
- เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อไก่
- อาหารทะเล เช่น หอยนางรม ปูและกุ้ง
- ถั่วและเมล็ดพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง เมล็ดฟักทอง และเมล็ดทานตะวัน
- ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม โยเกิร์ต และชีส
แร่สังกะสีมีกี่รูปแบบ
นอกจากแหล่งอาหารจากธรรมชาติแล้ว ยังสามารถรับประทานแร่สังกะสีเสริมได้จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยทั่วไปแร่สังกะสีแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ คือคีเลตซิงค์ (chelated zinc) และไอออนิกซิงค์ (ionic zinc)
คีเลตซิงค์ (chelated zinc) คือสังกะสีที่พบในธรรมชาติ อยู่ในรูปแบบของสารประกอบที่ผูกพันกับโปรตีนและสารอินทรีย์อื่น ๆ กรดอะมิโน (amino acids) หรือกรดอินทรีย์ (organic acids) ซึ่งช่วยให้สังกะสีถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น ไม่ตกตะกอนหรือถูกขัดขวางจากสารอื่น ๆ ในระบบย่อยอาหาร และมีความคงตัวสูงกว่าในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ยกตัวอย่าง เช่น zinc gluconate, zinc picolinate, zinc chelated amino acid
ไอออนิกซิงค์ (ionic zinc) คือลักษณะของสังกะสีที่อยู่ในรูปแบบของไอออน (Zn²+) โดยไม่ได้จับกับสารประกอบอินทรีย์ใด ๆ ดูดซึมได้น้อยกว่าคีเลตซิงค์เนื่องจากไอออนของสังกะสีอาจจับกับสารอื่น ๆ ในอาหารหรือในระบบย่อยอาหาร ซึ่งทำให้ไม่สามารถถูกดูดซึมได้อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่าง เช่น zinc sulfate, zinc oxide
การบริโภคอาหารที่มีแร่สังกะสีเพียงพอในแต่ละวัน หรือการเสริมแร่สังกะสีในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สามารถช่วยเสริมสร้างและรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ป้องกันการติดเชื้อและโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แร่สังกะสีมีบทบาทสำคัญในการสร้างและการเจริญเติบโตของเซลล์ภูมิคุ้มกันต่าง ๆ เช่น เม็ดเลือดขาวชนิด T-cells และ B-cells รวมถึงช่วยให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจัดการกับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่า แร่สังกะสีสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้อีกด้วย
2. การทำงานของเอนไซม์และโปรตีน
แร่สังกะสีเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และโปรตีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ DNA และ RNA
3. การป้องกันการอักเสบ
แร่สังกะสีมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบและช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายจากการติดเชื้อหรือการบาดเจ็บ
4. การป้องกันและรักษาการติดเชื้อ
มีการศึกษาพบว่า การเสริมแร่สังกะสีสามารถลดระยะเวลาและความรุนแรงของการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนและโรคไข้หวัด
แหล่งอาหารที่มีแร่สังกะสีสูง
- เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อไก่
- อาหารทะเล เช่น หอยนางรม ปูและกุ้ง
- ถั่วและเมล็ดพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง เมล็ดฟักทอง และเมล็ดทานตะวัน
- ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม โยเกิร์ต และชีส
แร่สังกะสีมีกี่รูปแบบ
นอกจากแหล่งอาหารจากธรรมชาติแล้ว ยังสามารถรับประทานแร่สังกะสีเสริมได้จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยทั่วไปแร่สังกะสีแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ คือคีเลตซิงค์ (chelated zinc) และไอออนิกซิงค์ (ionic zinc)
คีเลตซิงค์ (chelated zinc) คือสังกะสีที่พบในธรรมชาติ อยู่ในรูปแบบของสารประกอบที่ผูกพันกับโปรตีนและสารอินทรีย์อื่น ๆ กรดอะมิโน (amino acids) หรือกรดอินทรีย์ (organic acids) ซึ่งช่วยให้สังกะสีถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น ไม่ตกตะกอนหรือถูกขัดขวางจากสารอื่น ๆ ในระบบย่อยอาหาร และมีความคงตัวสูงกว่าในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ยกตัวอย่าง เช่น zinc gluconate, zinc picolinate, zinc chelated amino acid
ไอออนิกซิงค์ (ionic zinc) คือลักษณะของสังกะสีที่อยู่ในรูปแบบของไอออน (Zn²+) โดยไม่ได้จับกับสารประกอบอินทรีย์ใด ๆ ดูดซึมได้น้อยกว่าคีเลตซิงค์เนื่องจากไอออนของสังกะสีอาจจับกับสารอื่น ๆ ในอาหารหรือในระบบย่อยอาหาร ซึ่งทำให้ไม่สามารถถูกดูดซึมได้อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่าง เช่น zinc sulfate, zinc oxide
การบริโภคอาหารที่มีแร่สังกะสีเพียงพอในแต่ละวัน หรือการเสริมแร่สังกะสีในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สามารถช่วยเสริมสร้างและรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ป้องกันการติดเชื้อและโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
WeNature
Your Daily Dose of Vitality
วันดี ๆ มีได้ทุกวันด้วยวีเนเจอร์
เอกสารอ้างอิง
1. Scott A Read, Stephanie Obeid, Chantelle Ahlenstiel and Golo Ahlenstiel. The Role of Zinc in Antiviral Immunity. Adv Nutri 2019(10): 696-710.
2. Michelle Science, jennie Johnstone, Daniel E. Roth, Gordon Guyatt and Mark Loeb. Zinc for The Treatment of The Common Cold: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials. CMAJ 2012(10): 184.
3. Rerksuppaphol S, Rerksuppaphol L. A randomized controlled trial of chelated zinc for prevention of the common cold in Thai school children. Paediatr Int Child Health. 2013 Aug;33(3):145-50.
4. S Maggini, s Beveridge and M Suter. A Combination of High-Dose Vitamin C Plus Zinc for The Common Cold. The Journal of International Medical Research 2012(40): 28-42.
5. Bonaventura P, Benedetti G, Albarède F, Miossec P. Zinc and its role in immunity and inflammation. Autoimmun Rev. 2015 Apr;14(4):277-85.
6. National Institutes of Health. Zinc [Internet]. Nih.gov. National Institutes of Health; 2022. Available from: https://ods.od.nih.gov/factsheets/Zinc-HealthProfessional/
7. Kubala MS J. Chelated Zinc: Benefits, Types, and Best Absorption [Internet]. Healthline. 2019 [cited 2024 Jun 19]. Available from: https://www.healthline.com/health/chelated-zinc#types
บทความที่เกี่ยวข้อง